เมนู

เป็นปัจจัยให้สำเร็จแก่มรรคด้วยอำนาจปัจจัย 6 คือ อนันตระ, สม-
นันตระ, อาเสวนะ, อุปนิสสยะ, นัตถิ, วิคตะ อันเป็นไปในครั้งแรก
ความเสพในครั้งแรก, อันประชุมพร้อมกันในครั้งแรกในอารมณ์คือ
นิพพาน, ถึงยอดเป็นศีรษะวิปัสสนา ย่อมเกิดขึ้นกระทำให้เป็นภาพ
ที่ให้หมุนกลับอีกไม่ได้.

11. อรรถกถามัคคญาณุทเทส


ว่าด้วย มรรคญาณ


ในคำว่า ทุภโต วุฏฺฐานวิวฏฺฏเน ปญฺญา มคฺเค ญาณํ
แปลว่า ปัญญาในการออกและหลีกจากขันธ์และนิมิตทั้ง 2 เป็น
มรรคญาณ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
คำว่า ทุภโต แปลว่าทั้ง 2, อีกอย่างหนึ่งท่านกล่าวอธิบายว่า
ทั้งคู่. มรรคญาณย่อมออกคือย่อมหมุนกลับจากกิเลสทั้งหลาย และ
ขันธ์อันเป็นไปตามกิเลสเหล่านั้น กับทั้งจากสังขารนิมิตทั้งปวงในภาย
นอกจากการการทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ เพราะตัดกิเลสทั้งหลาย
ได้ขาดแล้ว ฉะนั้นจึงชื่อว่า ปัญญาในการออกและหลีกจากขันธ์และ
นิมิตทั้ง 2.
เพราะเหตุนั้น พระพุทธโฆสาจารย์จึงกล่าวว่า

มรรคญาณแม้ทั้ง 4 ออกจากนิมิต เพราะ
มีพระนิพพานอันไม่มีนิมิตเป็นอารมณ์, และย่อม
ออกจากปวัตตขันธ์ เพราะตัดสมุทัยได้ขาด ฉะนั้น
จึงชื่อว่า ทุภโตวุฏฐานะ คือออกโดยส่วนทั้งสอง
2
ดังนี้.
ธรรมชาติใดย่อมขวนขวาย ย่อมเพ่งเล็งพระนิพพาน, หรือ
พระโยคีบุคคลผู้ต้องการพระนิพพาน ย่อมขวนขวาย คือย่อมแสวงหา,
หรือว่าธรรมชาติใดยังกิเลสทั้งหลายให้ตายไป เป็นไปอยู่ ฉะนั้น
ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า มรรค, ญาณในมรรคนั้น ชื่อว่า มคฺเค ญาณํ-
มรรคญาณ.
มรรคญาณท่านทำเป็นเอกวจนะโดยชาติศัพท์. ก็มรรคญาณนั้น
เกิดขึ้น ทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ต่อจากโคตรภูญาณ, ตัดกิเลส
อันจะพึงฆ่าได้เองโดยไม่มีส่วนเหลือ, เผาผลาญห้วงสมุทรคือทุกข์ใน
สังสารวัฏอันมีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้วให้เหือด-
แห้งไป, ปิดประตูอบายทั้งปวงเสีย, การทำอริยทรัพย์ 7 ให้ปรากฏอยู่
ต่อหน้า, ละมิจฉามรรคประกอบด้วยองค์ 8, ทำเวรภัยทั้งปวงให้สงบ,
นำตนเข้าสู่ความเป็นบุตรผู้เกิดแต่พระอุระ แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และได้อานิสงส์อื่น ๆ อีกหลายร้อยเท่า เหมือนคำที่กล่าวว่า
1. ปัญญานิทเทส แห่งวิสุทธิมรรค.

บุรุษปรารถนาจะโดดข้ามแม้น้ำน้อยขึ้นไป
ยืนอยู่บนฝั่งโน้น จึงจับเชือกหรือท่อนไม้ ที่ติดอยู่
กับต้นไม้บนฝั่งนี้ แล้วโดดข้ามไปโดยเร็ว จนตัว
ไปตกอยู่บนฝั่งโน้น เมื่อตัวตกที่ฝั่งโน้นแล้วก็ละ
ความหวาดหวั่นนั้น ขึ้นอยู่บนฝั่งได้ฉันใด, พระ-
โยคีบุคคลผู้ปรารถนาจะข้ามพ้นกิเลสทั้งหลายเห็น
ภัยฝั่งนี้ล้วนแล้วด้วยสักกายทิฏฐิ แล้วยืนอยู่ที่ฝั่ง
คือพระนิพพานอันไม่มีภัย จึงจับเชือกคือรูปขันธ์
เป็นที่ยึดโดดมาโดยเร็วด้วยอุทยัพพยานุปัสสนา
เป็นเบื้องแรก หรือจับไม้กล่าวคือนามขันธ์นั้นไว้
ด้วยดี กระโดดมาด้วยอาวัชชนจิตโดยนัยตามที่
กล่าวแล้วในก่อน โดดขึ้นด้วยอนุโลมญาณ แล้ว
โน้มไปในพระนิพพาน เข้าไปสู่ที่ใกล้แห่งพระ-
นิพพานนั้น ก็ปล่อยอารมณ์คือสังขารธรรมนั้นเสีย
ได้ด้วยโคตรภูญาณ แล้วตกลงที่ฝั่งอื่นคือพระนิพ-
พานอันเป็นอสังขตธรรม แต่นั้นก็ตั้งอยู่ด้วยมรรค-
ญาณ ฉันนั้น.

นระผู้ใคร่จะดูพระจันทร์ ในเวลาที่พระ-
จันทร์ถูกเมฆหมอกบดบังไว้ ครั้นเมื่อเมฆหมอก
ถูกพายุพัดไปตามลำดับ จากหนาทึบเป็นบางและ
บางเข้าก็เห็นพระจันทร์ได้ฉันใด, โคตรภูญาณที่
กำลังเพ่งอมตนิพพานอยู่ เมื่อโมหะที่ปกปิดสัจจะ
ไว้ถูกทำลายให้พินาศไปด้วยอนุโลมญาณตามลำดับ
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อนุโลมญาณก็มิได้เห็นอมต-
นิพพาน เหมือนลมเหล่านั้นก็มิได้เห็นพระจันทร์
โคตรภูญาณก็บรรเทาความมืดไม่ได้ เหมือนบุรุษ
ก็บรรเทาเมฆหมอกไม่ได้ฉะนั้น. แต่มรรคญาณนี้
เป็นไปในพระนิพพาน มิได้ละสัญญาอันโคตรภู-
ญาณให้แล้ว จึงทำลายกองกิเลสมีกองโลภะเป็น
ต้นได้ เหมือนจักรยนต์ที่ใช้เป็นเป้ากำลังหมุนอยู่
นายขมังธนูยืนจ้องจะยิงอยู่แล้ว พอสัญญาอันคน
อื่นให้แล้ว ก็ยิ่งลูกศรไปทะลุแผ่นเป้าได้ตั้ง 100
ฉะนั้น. มรรคญาณนั้นนั่นแลทำทะเลหลวงคือสัง-
สารทุกข์ให้เหือดแห้งไป ปิดประตูทุคติเสียได้
ทำคนที่มีหนี้คือกิเลสให้เป็นเสฏฐบุคคลผู้สมบูรณ์

ด้วยอริยทรัพย์ ละมิจฉามรรคเสียได้. ทำเวรและ
ภัยทั้งหลายให้สงบ, ทำตนให้เป็นลูกผู้เกิดแต่อก
แห่งพระพุทะเจ้าผู้เป็นนาถะของโลก, ญาณนี้ย่อม
ให้ซึ่งอานิสงส์อื่น อีกหลายร้อยอย่าง.


12. อรรถกถาผลญาณุทเทส


ว่าด้วย ผลญาณ


ในคำว่า ปโยคปฺปฏิปฺปสฺสทฺธิปญฺญา ผเล ญาณํ แปลว่า
ปัญญาในการระงับปโยคะเป็นผลญาณ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า ปโยโค แปลว่า การประกอบอย่างแรงกล้า, คือความ
พยายามที่ออกจากและขันธ์ทั้ง 2 ได้ด้วยมรรคภาวนาโดยทำให้แจ้ง
ซึ่งผล. ความสงบปโยคะคือความพยามนั้น คือการถึงที่สุดแห่งโยคะ
ชื่อว่า ปโยคปฏิปัสสัทธิ. ปโยคปฏิปัสสัทธินั้นอย่างไร ? คือการสิ้นสุด
แห่งกิจในมรรคทั้ง 4.
ปัญญาในผลเป็นไปแล้ว เพราะปโยคปฏิปัสสัทธินั้นเป็นเหตุ
ชื่อว่า ปโยคปฏิปัสสัทธิปัญญา. ปัญญานี้เป็นผลเพราะอรรถว่า ย่อม
ผลิตผล คือย่อมให้เกิดวิบาก, ในผลนั้น ญาณอันสัมปยุตกับด้วยผล-
จิตนั้น (ชื่อว่า ผเล ญาณํ) ก็ต่อจากมรรคญาณหนึ่ง ๆ ผลจิตอัน